วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

หนองคาย เกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้ง หันมาปลูกพืชทนแล้งสร้างรายได้


หนองคาย เกษตรกรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำทำนาข้าว   หันมาเร่งดูแลพืชทนแล้ง เก็บผลผลิตเหลือจากบริโภคไปจำหน่ายสร้างรายได้   


นางกิตตา แก้วโภค เกษตรกรบ้านหนองแวง ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เจ้าของสวนผักชะอม   กล่าวว่า  ช่วงนี้เกษตรกรในหลายพื้นที่ได้รับกระทบภัยแล้งอย่างหนัก  ฝนทิ้งช่วง  นาข้าวขาดน้ำที่จะดำนา ต้นกล้าก็เริ่มเหี่ยวแห้งยืนต้นตาย  ส่วนตนทน
รอทำนาไม่ไหวต้องหันมาดูแลสวนชะอม ซึ่งเป็นพืชทนแล้ง และเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยแทน  นอกจากจะปลูกไว้บริโภค  ยังเหลือพอสำหรับไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้อีก   รเพาะปลูกรเพาะปลูกจะรดน้ำทุกวันเช้า - เย็น ข้อดีของชะอมคือ ทนทาน สามารถทนแล้งได้ดี ปลูกง่ายและเก็บได้ตลอดเมื่อโตเต็มที่ ระยะในการเพาะปลูกใช้เวลาแค่ 3 - 4 เดือนก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้วและยังเก็บได้เรื่อยๆนอกจากนั้นทางเกษตรกรยังได้ปลูกพืชสวนครัวอายุสั้นอีกมากมายที่ปลูกกับผักชะอม คือ มะเขือ บวบบ้าน ใบแมงลัก ผักปลัง ต้นน้ำเต้า เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะปลูกไว้ทำอาหาร ยังสามารถส่งขายเป็นอาชีพเสริมได้อีกด้วย สำหรับผักชะอมจะตัดส่งทุกวันเพื่อส่งขาย ที่วิสหกิจชุมชนกลุ่มมัจฉาโอชา เพื่อส่งขายตามร้านค้าและห้างต่างๆ เป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรบ้านหนองแวง ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ดีกว่าต้องมานั่งรอคอยฝนตกเพื่อทำนาเพียงอย่างเดียว  โดยคิดหาวิธีแก้ปัญหาภัยแล้งด้วยตนเองทำยังไงที่จะมีรายได้พออยู่พอกิน  ใช้พื้นที่ที่มีอยู่ปลูกพืชผักสวนครัวที่กินได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพ่อหลวง เหลือจากบริโภคแล้วก็เก็บไปขายเพิ่มรายได้   
  สำหรับระยะเวลาปลูกชะอม 3-4 เดือน ก็จะสามารถเก็บผลผลิตได้  ข้อดีของชะอม คือ ทนทาน ทนแล้งได้ดี ปลูกง่าย และสามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี